ประตูน้ำเหล็กหล่อใช้ในการปิด-เปิดการไหลในเส้นท่อ

ประตูน้ำเหล็กหล่อ หรือที่รู้จักกันในชื่อประตูน้ำเหล็กหล่อลิ้นยกเป็นวาล์วที่เปิดขึ้นโดยการยกลิ้นของประตูน้ำออกจากเส้นทางการไหลของของเหลว ลักษณะที่แตกต่างของ Gate Valve (เกทวาล์ว) คือพื้นผิวการปิดผนึกระหว่างประตูน้ำและหน้าสัมผัส (seat) ซึ่งเป็นระนาบ ดังนั้น ประตูน้ำเหล็กหล่อ จึงมักถูกใช้เมื่อต้องการการไหลของของเหลวแบบเส้นตรงและมีข้อจำกัดไม่มาก ลิ้นของประตูน้ำส่วนใหญ่จะเป็นรูปแบบลิ่ม แต่ก็สามารถเป็นรูปแบบขนานได้

การใช้งานทั่วไป
ประตูน้ำเหล็กหล่อ ถูกใช้เพื่อปล่อยผ่านหรือป้องกันการไหลของของเหลว และโดยทั่วไป ประตูน้ำเหล็กหล่อ จะถูกใช้สำหรับควบคุมการเปิด-ปิดมากกว่าควบคุมการไหล เนื่องจากความสามารถในการตัดการผ่านของเหลวนี้ Gate Valve (เกทวาล์ว) จึงถูกใช้ในอุตสาหกรรมปิโตรเลียม ในการเปิด Gate Valve (เกทวาล์ว) เส้นทางการไหลจะถูกขยายออกในลักษณะทุกทิศทุกทางตามเปอร์เซ็นต์ของการเปิด นั่นแปลว่าอัตราการไหลจะไม่เปลี่ยนแปลงไปตามการเคลื่อนที่ของก้านยก (stem) การเปลี่ยนแปลงการไหลส่วนใหญ่เกิดขึ้นใกล้จุดปิดด้วยความเร็วของเหลวที่ค่อนข้างแรง เป็นเหตุให้ประตูและหน้าสัมผัส (seat) สึกหรอและเกิดการรั่วไหลหากใช้เพื่อควบคุมการไหล ซึ่งการเปิดประตูเพียงบางส่วนมีแนวโน้มทำให้เกิดการสั่นจากการไหลของของเหลว ดังนั้น การทำงานของ Gate Valve (เกทวาล์ว) จึงถูกออกแบบให้เปิดหรือปิดแบบเต็มที่ เมื่อเปิดอย่างเต็มที่เส้นทางการไหลจะไม่มีอุปสรรค เป็นผลให้สูญเสียแรงเสียดทานต่ำมาก

โครงสร้างของ Valve (วาล์ว)
ประตูน้ำเหล็กหล่อ ทำงานผ่านก้านเกลียวซึ่งเชื่อมต่อหัวขับ (ใช้มือหมุนหรือใช้มอเตอร์) ติดกับประตู และตัวก้านมีทั้งแบบ rising และ non-rising ขึ้นอยู่กับการทำงานของก้าน ตัวก้านแบบ rising จะถูกยึดกับลิ้น และยกขึ้น-ลงพร้อมกันขณะที่วาล์วกำลังทำงาน ซึ่งเป็นการบ่งชี้ตำแหน่งของวาล์ว หัวขับที่ทำหน้าที่เสมือนแป้นเกลียวจะหมุนวนรอบก้านเกลียวเพื่อเป็นตัวขับเคลื่อน ตัวก้านแบบ non-rising จะถูกยึดติดและถูกหมุนพร้อมกับหัวขับภายในส่วนของประตู ซึ่งอาจจะมีจุดชี้เกลียวที่ด้านบนสุดของก้านเพื่อบ่งชี้ตำแหน่งของวาล์ว เนื่องจากการเคลื่อนที่ของประตูจะถูกปิดอยู่ภายในวาล์ว ตัวก้านแบบ non-rising นี้จะถูกใช้สำหรับใต้ดินหรือที่ซึ่งมีช่องว่างแนวตั้งแบบจำกัด

ประตูน้ำเหล็กหล่อ อาจจะมีหน้าแปลน (flange) ที่ส่วนปลาย ซึ่งถูกเจาะตามมาตรฐานมิติหน้าแปลนที่เข้ากันได้กับท่อ โดยทั่วไป ประตูน้ำเหล็กหล่อ จะทำจากเหล็กหล่อ (cast iron) เหล็กเหนียว (ductile iron) เหล็กกล้าคาร์บอน (cast carbon steel) โลหะผสมทองแดงหรือดีบุกหรือสังกะสี (gunmetal) เหล็กกล้าไร้สนิมหรือสแตนเลสสตีล (stainless steel) เหล็กกล้าผสม (alloy steel) และเหล็ก forged หรือเหล็กคาร์บอนต่ำ (forged steel)

จะเลือกแผนประกันเดินทางอย่างไรให้คุ้มค่า

เมื่อเดินทางไม่ว่าจะไปเที่ยวหรือไปทำงาน หรือจุดประสงค์อื่น ๆ ก็ตาม สิ่งหนึ่งที่ละเลยไม่ได้ ก็คือ ประกันเดินทาง เพราะแม้จะวางแผนการเดินทางดีอย่างไร ก็อาจเกิดเหตุการณ์ไม่คาดคิดได้เสมอ ไม่ว่าจะกับตัวคุณเอง หรือทรัพย์สิน เช่น การโจรกรรม ของสูญหาย อุบัติเหตุ หรือเจ็บป่วย สิ่งที่จะช่วยให้คุณอุ่นใจกับค่าใช้จ่ายที่อาจเกิดขึ้นเหล่านี้ ก็คือประกันเดินทางนั่นเอง ซึ่งแผนประกันก็ค่อนข้างมีอยู่หลายแบบ

  1. จุดประสงค์ในการเดินทาง : ไลฟ์สไตล์ กิจกรรม ต่าง ๆ พูดง่าย ๆ ก็คือ ดูก่อนเลยว่า ในการเดินทางครั้งนี้ คุณตั้งใจจะไปทำอะไรบ้าง เช่น ไปทำงาน ไปเที่ยวชิล ๆ หรือ ไปเที่ยวลุย ๆ ก็ให้พิจารณาประกันเดินทางที่ครอบคลุมกิจกรรมของคุณ หรือเน้นการคุ้มครองไปที่กิจกรรมของคุณ เช่น กรณีถ้าคุณไปทำงาน และมีทรัพย์สินมูลค่าสูงติดตัวไปด้วย ก็ควรมองหาความคุ้มครองให้กับสัมภาระ หรือ ทรัพย์สินนั้น ๆ หรือการเรียกร้องกรณีเกิดยกเลิกเที่ยวบินหรือดีเลย์มาก จนงานเกิดความเสียหาย หรือหากคุณเป็นสายลุย ชอบผจญภัย ขึ้นเขาลงห้วย ก็ควรมองหาประกันที่เน้นความคุ้มครอง ครอบคลุมค่ารักษาพยาบาล หรือหากคุณวางแผนเช่ารถขับเที่ยวในต่างประเทศ ก็ควรมองหาความคุ้มครองกรณีหากขับรถชนบุคคลอื่น เป็นต้นค่ะ ทั้งนี้ คุณควรตรวจสอบให้มั่นใจว่า กิจกรรมที่คุณวางแผนไว้ ไม่อยู่ในข้อยกเว้นที่ไม่คุ้มครองด้วย
  2. รูปแบบการเดินทาง : ความถี่ และ ระยะเวลาในการเดินทาง หากคุณเดินทางบ่อยมาก ๆ เช่น ต้องเดินทางไปทำงานที่ต่างประเทศเป็นประจำ แนะนำให้ซื้อประกันเดินทางแบบรายปีไปเลย เพราะนอกจากไม่ต้องเสียเวลาซื้อประกันบ่อย ๆ แล้ว ก็ยังประหยัดคุ้มค่ากว่า หรือกรณีที่คุณเดินทางไปอยู่เป็นระยะเวลานาน ๆ เช่น ไปเรียนคอร์สภาษาระยะสั้น 2-3 เดือน เบี้ยอาจถูกกว่าเพียงหลักร้อย ก็ควรซื้อรายปีก็จะคุ้มค่ากว่า เผื่อกรณีที่เดินทางไปอีก ในระยะเวลา 1 ปี ก็จะได้ไม่ต้องซื้อเพิ่ม แต่หากกรณีที่เดินทางไปมากกว่า 3 เดือน ก็อาจต้องเลือกเป็นรายครั้งไป เพราะประกันเดินทางแบบรายปี ส่วนมากจะจำกัดให้อยู่ต่างประเทศได้ไม่เกิน 90 วัน หรือ 120 วัน ต่อการเดินทาง 1 ครั้ง
  3. ความคุ้มครอง : ครอบคลุมความคุ้มครองใดบ้าง ก่อนเลือกประกันเดินทางใด ควรตรวจสอบความคุ้มครองตามมาตรฐานที่ประกันเดินทางพึงมี ซึ่งควรครอบคลุมความคุ้มครองดังนี้
  • ค่ารักษาพยาบาล
  • ค่าชดเชยกรณีเสียชีวิต
  • ค่าเคลื่อนย้ายฉุกเฉิน ทั้งกรณีเคลื่อนย้ายผู้ป่วยรวมถึงการส่งศพกลับประเทศด้วย ซึ่งค่าใช้จ่ายเหล่านี้จะสูงมากในต่างประเทศ
  • ค่าชดเชยกรณีสัมภาระและทรัพย์สินสูญหาย
  • ค่าชดเชยกรณีเที่ยวบินถูกยกเลิก หรือล่าช้า ทั้งนี้คุณอาจค้นหาความคุ้มครองพิเศษเพิ่มเติมให้ตรงกับความต้องการของคุณได้
  1. แผนเดินทาง : ไปประเทศไหนบ้าง ประเทศที่เราเดินทางไปนั้น ก็เป็นตัวแปรที่ทำให้เบี้ยประกันของเราถูกหรือแพงขึ้นด้วย เช่น หากเดินทางไปประเทศกลุ่มเชงเก้นในโซนยุโรปนั้น ก็จะต้องทำวีซ่าเชงเก้น ที่กำหนดไว้ว่า กรมธรรม์ประกันการเดินทาง จะต้องครอบคลุมวันที่อยู่ในประเทศกลุ่มเชงเก้น และต้องมีวงเงินคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลอย่างน้อย 30,000 ยูโรหรือเทียบเท่า 1,500,000 บาท หรือกรณีถ้าเราต้องเดินทางไป 2-3 ประเทศในเอเชีย เช่น ญี่ปุ่น ฮ่องกง ไต้หวัน ก็สามารถเลือกแผนคุ้มครองโซนเอเชียได้ แต่ถ้าไป 2 ประเทศ ต่างทวีป ก็ต้องเลือกเป็นคุ้มครองทั่วโลก ทั้งนี้ต้องศึกษารายละเอียดเงื่อนไขของประเทศที่จะไปให้ดีก่อนเลือกประกันเดินทางด้วย
  2. บริษัทประกันภัย : มีชื่อเสียง ไว้วางใจได้ เคลมง่ายเคลมไวเป็นที่แน่นอนเลยว่า หากเกิดเหตุฉุกเฉินใด ๆ คุณย่อมต้องการคำปรึกษา หรือความช่วยเหลือจากเจ้าหน้าที่ของบริษัทประกันภัย ที่พร้อมให้ความช่วยเหลือได้ 24 ชั่วโมงทั่วโลก และมีความรวดเร็ว ทำให้เราอุ่นใจได้ ดังนั้น นอกจากการเลือกแผนประกันเดินทางที่เหมาะสมกับการเดินทางของคุณแล้ว การพิจารณาบริษัทประกันภัยที่มีชื่อเสียง ไว้ใจได้ คือสิ่งที่สำคัญไม่แพ้กันเลย
  3. งบประมาณ : งบในใจของคุณ จริง ๆ แล้ว งบประมาณ หรืองบในใจของคุณ ก็จะมีความสัมพันธ์กับทุกข้อที่กล่าวมาแล้ว เช่น เมื่อคุณทราบว่า กิจกรรมในการเดินทางของคุณ ไม่มีอะไรมาก สุขภาพของคุณก็ดูดี และเดินทางไปสั้น ๆ แค่ 2-3 วัน คุณก็สามารถเลือกประกันที่ไม่จำเป็นต้องมีราคาสูงนัก แต่ในกรณีที่คุณเป็นสายลุย หรือหอบหิ้ว ทรัพย์สินที่มีค่า ไม่ว่าจะใช้ในการทำงานหรือเป็นของฝาก ก็ควรยอมเพิ่มเงินประกันให้เหมาะสมกับกิจกรรมหรือความเสี่ยงของคุณนั่นเอง เพราะเมื่อเกิดเหตุใด ๆ คุณจะรู้เลยว่า ยอมเสียเงินประกันที่มากกว่าอีกหน่อย แต่ได้รับความคุ้มครองอย่างคุ้มค่าจริง ๆ

สปอร์ตไลท์ มีความแตกต่างกับฟลัดไลท์led อย่างไร

การเลือกซื้อ สปอร์ตไลท์ อาจจะดูเป็นเรื่องไกลตัวสำหรับเราไปสักนิด โดยเฉพาะกับคุณผู้หญิงด้วยแล้วน้อยคนที่จะสนใจหรือมีความรู้เกี่ยวกับเรื่องสปอร์ตไลท์แต่ก็คงไม่ใช่เรื่องยากเกินไปที่จะหันมาสนใจศึกษาเพื่อให้เกิดความรู้และความเข้าใจมากยิ่งขึ้นเผื่อในอนาคตเราอาจจะหยิบยกเอาความรู้เหล่านี้มาใช้ให้เกิดประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้

เมื่อเราพูดถึงเรื่องการเลือกซื้อฟลัดไลท์หรือเลือกใช้ไฟสปอร์ตไลท์ส่องป้ายสำหรับการใช้งานในรูปแบบต่างๆไม่ว่าจะเป็นการประดับตกแต่งสถานที่หรือเพื่อให้แสงสว่างภายในบ้านและนอกบ้านแล้วนั้น คงปฏิเสธไม่ได้เลยว่าแสงสว่างเป็นสิ่งที่มีความสำคัญและจำเป็นอย่างมากในปัจจุบัน ซึ่งแสงสว่างไม่เพียงแต่ทำให้มองเห็นภายในบ้านได้เพียงอย่างเดียว แต่ยังสามารถช่วยลดอันตรายจากภายนอกบ้านที่เกิดจากขโมยได้ โดยการติดไฟส่องโรงจอดรถหรือบริเวณสนามหญ้าหน้าบ้าน

นอกจากนี้แสงสว่างยังเป็นสิ่งที่ช่วยเพิ่มสีสันหรือความโดดเด่นให้กับวัตถุต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นบ้านหรือสิ่งของ หรือแม้กระทั่งตัวบุคคลเอง แต่ถึงอย่างไรก็ตามยังมีคนจำนวนมากที่ยังคงสับสนเกี่ยวกับการเลือกใช้ระหว่างสปอร์ตไลท์ led กับฟลัดไลท์ led เพื่อให้ตรงกับความต้องการหรือวัตถุประสงค์ของการใช้งาน ประเด็นที่เกี่ยวกับความแตกต่างของการทำงานของโคมไฟทั้งสองชนิด ก็จะช่วยให้เราเกิดความเข้ามากใจมากยิ่งขึ้น

หลักการทำงานคร่าว ๆ ของสปอร์ตไลท์ led รวมไปถึงความแตกต่างระหว่างสปอร์ตไลท์ led และฟลัดไลท์ led เพื่อคลายข้อสงสัยและช่วยให้เรามีทางเลือกที่ดีขึ้นในการเลือกใช้งานให้เหมาะสมและถูกประเภทกับการใช้งานของสปอร์ตไลท์ledและฟลัดไลท์

สปอร์ตไลท์ led คืออะไร
แม้ว่าเราจะไม่รู้ความหมายที่แท้จริงของสปอร์ตไลท์led แต่ถ้าเราสังเกตคำว่า spot ซึ่งแปลว่าจุด ซึ่งก็หมายถึง การส่องแสงไปที่จุดใดจุดหนึ่งหรือจุดเดียวและอย่างน้อยๆเราก็คงเคยเห็นรูปร่างหน้าตาตัวของสปอร์ตไลท์ledกันมาบ้างแล้ว ไม่ว่าจะเป็นตามนิทรรศการต่างๆหรือคอนเสิร์ต ซึ่งในสถานที่เหล่านี้เป็นสถานที่ที่ต้องการใช้โคมไฟหรือสปอร์ตไลท์ เป็นจำนวนมากและต้องการเน้นรายละเอียดต่างๆให้ดูโดดเด่นซึ่งแสงสปอร์ตไลท์ledก็เป็นอีกตัวช่วยหนึ่งในการช่วยเน้นให้สิ่งเหล่านั้นดูโดดเด่นขึ้นมาหรือแม้แต่ภายในโรงละครเอง แสงไฟจากสปอร์ตไลท์ก็เป็นตัวช่วยให้ตัวละครมีความโดดเด่นขึ้นมาได้ ทั้งนี้เรายังไม่พูดถึงรายละเอียดต่างๆทางวิทยาศาสตร์ที่ลึกลงไปที่เกี่ยวกับการเกิดแสงหรือลักษณะของลำแสงแต่เราจะพูดถึงหลักการคร่าวๆเพื่อให้เกิดความเข้าใจในเบื้องต้นเท่านั้น

เราจะใช้สปอร์ตไลท์led ได้ที่ไหนบ้าง
โดยส่วนมากเราจะไม่ค่อยเห็นคนใช้ สปอร์ตไลท์ ภายในครัวเรือนมากนัก แต่ก็อาจจะมีบ้างในบางกรณีที่ต้องการใช้หรือมีความจำเป็นจริง ๆ หลัก ๆ แล้ว สปอร์ตไลท์ มักจะถูกเลือกให้เป็นไฟที่ใช้ในการจัดแสดงบนเวที ในโรงละคร โอเปร่าเฮาท์ห้องแสดงคอนเสิร์ต การแสดงบัลเลย์ นิทรรศการหรือในพิพิธภัณฑ์ ซึ่งสถานที่ทั้งหมดที่ได้กล่าวมานี้ล้วนแต่เป็นสถานที่ต้องจัดแสดงสิ่งของหรือเป็นการแสดงที่ต้องการใช้แสงไฟช่วย เราจึงเลือกที่จะใช้สปอร์ตไลท์led 50wเข้ามาช่วยในการแสดงหรือจัดแสดงผลงงานต่าง ๆ เพื่อทำวัตถุนั้นหรือการแสดงนั้นให้ดูโดดเด่นขึ้นมา

ความแตกต่างระหว่างสปอร์ตไลท์ led และฟลัดไลท์led

สปอร์ตไลท์ led ทุก ๆ ตัวจะมีความกว้างของลำแสงไม่เกิน 45 องศา เป็นโคมไฟที่ให้แสงแคบไปที่จุดๆ เดียวแต่ฟลัดไลท์จะมีความกว้างของลำแสงได้ถึง 120 องศา ให้ความสว่างสูงและกระจายแสงได้เป็นบริเวณกว้างซึ่งหมายความว่าขนาดลำแสงของฟลัดไลท์ ledจะมีความกว้างมากกว่า สปอร์ตไลท์ led สปอร์ตไลท์ led เหมาะสำหรับการใช้เน้นวัตถุหนึ่งให้ดูโดดเด่นขึ้นมา เช่น การจัดงานนิทรรศการ หรือในพิพิธภัณฑ์

ฟลัดไลท์ led เหมาะสำหรับการให้แสงในบริเวณพื้นที่กว้างเช่น สนามหญ้าหากเราต้องการเลือกซื้อให้ตรงตามวัตถุประสงค์ของการใช้งาน สปอร์ตไลท์ จะใช้ได้ดีกับกับวัตถุชนิดเดียวแต่ฟลัดไลท์ led จะทำงานได้ดีในพื้นที่ขนาดใหญ่ ทั้งสองอย่างนี้ใช้พลังงานเท่ากันและให้แสงสว่างได้ใกล้เคียงกัน